Foreign Worker Employment Agency Central Unity Group Service Co.,Ltd.

MOU for Myanmar nationality

28 อาชีพสงวน “ต่างด้าว” ห้ามทำ

28 อาชีพสงวน “ต่างด้าว” ห้ามทำ

?เตือนทั่วประเทศ!! ห้ามแรงงานต่างด้าวขายของหน้าร้าน หรือแย่งอาชีพคนไทยตามที่กฎหมายระบุ
ฝ่าฝืนมีโทษปรับทั้งนายจ้างและแรงงานต่างด้าว สูงถึง 100,000
บาท

กระทรวงแรงงาน เปิดเผยข้อมูลว่า กรมการจัดหางาน ร่วมบูรณาการกับกับเจ้าหน้าที่ทหาร ตำรวจ ปกครอง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตรวจสอบนายจ้างสถานประกอบการและแรงงานต่างด้าว โดยลงพื้นที่ตรวจสอบในกิจการที่มีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะมีนายจ้างและแรงงานต่างด้าวฝ่าฝืนกฎหมาย ซึ่งแรงงานต่างด้าวที่มาทำอาชีพสงวนสำหรับคนไทยและทำงานโดยไม่ได้รับอนุญาต ตามมาตรา 8 มีอัตราโทษตาม ม.101 มีโทษจำคุกไม่เกิน 5 ปี ปรับตั้งแต่ 2,000 – 100,000 บาท ส่วนนายจ้างถูกจับในข้อหาให้ต่างด้าวทำงานไม่ตรงกับใบอนุญาต หากผิดจริงมีอัตราโทษปรับไม่เกิน 100,000 บาท

ทั้งนี้ งานที่ผ่อนผันให้แรงงานต่างด้าว 3 สัญชาติ เมียนมา ลาว และกัมพูชา สามารถทำงานได้ 2 ประเภท คือ งานกรรมกร และงานบ้าน ส่วนงานขายของหน้าร้านหรือการเป็นเจ้าของกิจการยังคงเป็นอาชีพที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำ ตามที่กำหนดงานในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามแรงงานต่างด้าวทำ บัญชีท้ายพระราชกฤษฎีกากำหนดในอาชีพและวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำ พ.ศ. 2522

หากพบแรงงานต่างด้าวทำงานผิดกฎหมายหรือพบการกระทำความผิดเกี่ยวกับการทำงานของแรงงานต่างด้าว สามารถแจ้งเบาะแสได้ที่สายด่วนกรมการจัดหางาน 1506 กด 2 หรือร้องเรียนได้ที่ กองทะเบียนจัดหางานกลางและคุ้มครองคนหางาน กรมการจัดหางาน หมายเลขโทรศัพท์ 0 2354 1386 หรือสำนักงานจัดหางานกรุงเทพมหานครที่มีอยู่ 10 พื้นที่ทั่วกรุงเทพมหานคร และสำนักงานจัดหางานจังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ หรือหากพบคนไทยที่เป็นนอมินีให้แรงงานต่างด้าวเปิดกิจการที่เป็นอาชีพสงวนสำหรับคนไทย สามารถโทรศัพท์สอบถามข้อมูลได้ที่หมายเลข 1570 Call Center กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

          เมื่อวันที่ 21 มิถุนายน 2561  รายงานว่า พล.ต.อ. อดุลย์ แสงสิงแก้ว  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการนโยบายบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว มีมติเห็นชอบกำหนดอาชีพสงวนใหม่ ให้ต่างด้าวทำได้ 12 อาชีพ 3 แบบ คือ
– แบบไม่มีเงื่อนไข 1 อาชีพ ได้แก่ กรรมกร
– แบบมีเงื่อนไข คือ ต่างด้าวต้องเป็นลูกจ้าง เป็นงานที่ขาดแคลนแรงงาน อนุญาตให้ทำได้เฉพาะเท่าที่จำเป็น ไม่กระทบโอกาสการมีงานทำของคนไทย 8 อาชีพ คือ
  1. กสิกรรม เลี้ยงสัตว์ งานป่าไม้ หรือประมง ยกเว้นงานที่ใช้ความชำนาญงานเฉพาะสาขา ควบคุมดูแลฟาร์ม
  2. ก่ออิฐ ช่างไม้ หรือก่อสร้างอื่น
  3. ทำที่นอนหรือผ้าห่มนวม
  4. ทำมีด
  5. ทำรองเท้า
  6. ทำหมวก
  7. ประดิษฐ์เครื่องแต่งกาย
  8. ปั้นหรือทำเครื่องปั้นดินเผา
– แบบมีเงื่อนไขตามข้อตกลงระหว่างประเทศอาเซียน แต่ต้องมีใบอนุญาตประกอบวิชาชีพตามกฎหมายไทย 3 อาชีพ คือ
  1. บัญชี ควบคุม ตรวจสอบ ปฏิบัติงานหรือให้บริการทางบัญชี ยกเว้น ตรวจสอบภายในเป็นครั้งคราว งานตามข้อตกลงหรือพันธกรณี ที่ประเทศไทยมีความผูกพัน โดยที่สภาวิชาชีพบัญชีเป็นผู้ให้การรับรองคุณสมบัติ
  2. วิศวกรรม สาขาวิศวกรรมโยธา ที่เกี่ยวกับงานออกแบบและคำนวณ จัดระบบ วิจัย วางโครงการทดสอบ ควบคุมการก่อสร้างหรือให้คำแนะนำ ยกเว้นผู้ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกอบวิชาชีพวิศวกรรม และวิชาชีพวิศวกรรมควบคุมตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs) รวมทั้งข้อตกลงระหว่างประเทศอื่นที่เกี่ยวกับการให้บริการวิศวกรรมข้ามแดน หรือผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพวิศวกรรมควบคุม สาขาวิศวกรรมโยธาตามกฎหมายว่าด้วยวิศวกร
  3. งานในวิชาชีพสถาปัตยกรรมที่เกี่ยวกับงานออกแบบ เขียนแบบ ประมาณราคา อำนวยการก่อสร้าง หรือให้คำแนะนำ ยกเว้นผู้ประกอบวิชาชีพตามข้อตกลงยอมรับร่วมคุณสมบัตินักวิชาชีพของอาเซียน (MRAs)
สำหรับงานที่ห้ามคนต่างด้าวทำโดยเด็ดขาดมี 28 งาน ดังนี้
  1. แกะสลักไม้
  2. ทอผ้าด้วยมือ
  3. ทอเสื่อ
  4. ทำกระดาษสาด้วยมือ
  5. ทำเครื่องเงิน
  6. ทำเครื่องดนตรีไทย
  7. ทำเครื่องถม
  8. ทำเครื่องทอง เครื่องเงิน หรือเครื่องนาก
  9. ทำเครื่องลงหิน
  10. ทำตุ๊กตาไทย
  11. ทำบาตร
  12. ทำผลิตภัณฑ์จากผ้าไหมด้วยมือ
  13. ทำพระพุทธรูป
  14. ทำร่มกระดาษหรือผ้า
  15. เรียงตัวพิมพ์อักษรไทยด้วยมือ
  16. สาวหรือบิดเกลียวไหมด้วยมือ
  17. ขับรถ
  18. ขายของหน้าร้าน
  19. ขายทอดตลาด
  20. เจียระไนเพชรหรือพลอย
  21. ตัดผม ดัดผม หรืองานเสริมสวย
  22. นายหน้า หรืองานตัวแทน ยกเว้นงานนายหน้าหรืองานตัวแทนในธุรกิจการค้าหรือการลงทุนระหว่างประเทศ
  23. มวนบุหรี่ด้วยมือ
  24. มัคคุเทศก์ หรืองานจัดนำเที่ยว
  25. เร่ขายสินค้า
  26. เสมียนพนักงานหรือเลขานุการ
  27. ให้บริการทางกฎหมายหรืออรรถคดี ยกเว้นงานปฏิบัติหน้าที่อนุญาโต หรืองานให้ความช่วยเหลือหรือทำการแทนในการดำเนินกระบวนการพิจารณาชั้นอนุญาโตตุลาการ
  28. นวดไทยเป็นงานเพิ่มขึ้นมาใหม่
ส่วนการขายของหน้าร้าน ต่างด้าวทำได้แค่ช่วยขาย ห้ามรับ-ทอนเงิน ส่วนร้านตัดผม ร้านทำเล็บ ทำได้แค่เก็บกวาด เช็ดถู ล้างเท้า-มือ

โดย พล.ต.อ. อดุลย์ เผยว่า หลังจากประกาศใช้ในวันที่ 1 กรกฎาคม ก็จะทำความเข้าใจและชี้แจง พร้อมมีการประชาสัมพันธ์เป็นเวลา 1 เดือน หลังจากนั้น จะเร่งตรวจจับให้เป็นไปตามกฎหมาย แรงงานต่างด้าวจะต้องทำเฉพาะงานที่อนุญาตให้ทำเท่านั้น จากนั้นในเดือนสิงหาคม จะเริ่มบังคับใช้กฎหมายอย่างเต็มรูปแบบ

ข่าวสารล่าสุด
NEWS and announcement