Foreign Worker Employment Agency Central Unity Group Service Co.,Ltd.

POLICY ON HAMAN RIGHT AND LABOR PRACTICE OF CENTRAL UNITY GROUP SERVICE

นโยบายการปฏิบัติงานด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน

นโยบายการปฏิบัติงานด้านแรงงานและสิทธิมนุษยชน

        บริษัทนำคนต่างด้าวเข้ามาทำงานในประเทศเซ็นทรัลยูนิตี้กรุ๊ปเซอร์วิสจำกัด ประกอบธุรกิจนำคนต่างด้าว จากประเทศเมียนมา ลาวกัมพูชาและเวียดนาม เขามาทำงานกับนายจ้าง โรงงานอุตสาหกรรมอาหาร อิเล็กทรอนิกส์ พลาสติก การบริการ และอื่นๆ ในประเทศไทย การทำงานของบริษัท ตระหนักถึง ความรับผิดชอบ เคารพสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เสรีภาพ และความเสมอภาคของบุคคล จึงได้ประกาศนโยบายฉบับนี้ เพื่อให้มั่นใจว่า บริษัท จะดำเนินงานธุรกิจ อย่างรับผิดชอบ และมีจริยธรรมสามารถตรวจสอบได้ โดยจะปฏิบัติตามกฎหมาย และนำหลักสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชนได้แก่ปฏิญญาสากล ว่าด้วยสิทธิมนุษยชน(UNIVERSAL DECLARATION OF HUMAN RIGHT UDHR)  ข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UNITED NATIONS GLOBAL COMPACT UNGC)  หลักการชี้แนะเรื่องสิทธิมนุษยชนสำหรับธุรกิจแห่งสหประชาชาติ (UNITED NATIONS GUIDING PRINCIPLES ON BUSINESS AND HUMAN RIGHT UNGP) ตลอดจนองค์กรอิสระที่จัดตั้ง และให้การอบรมเป็นแนวทางเพื่อจัดการกับปัญหาการค้ามนุษย์ และแรงงานบังคับในส่วนห่วงโซ่อุปทานทั่วโลก

ขอบเขต

        นโยบายการสรรหาแรงงาน ด้วยความรับผิดชอบรอบด้านอย่างมีจริยธรรมนี้ ครอบคลุมการดำเนินงานทั้งหมดของบริษัท บริษัทคู่ค้า นายจ้าง เอเจนซี่ประเทศต้นทาง รวมถึงการดำเนินกิจกรรมของพนักงาน และคู่ค้าทางธุรกิจของบริษัท

แนวทางปฏิบัติ

1.แนวทางปฏิบัติด้านการใช้แรงงานบังคับ
บริษัทจะไม่กระทำ หรือสนับสนุน ให้มีการใช้แรงงานบังคับในทุกรูปแบบในกระบวนการสรรหาแรงงานและจะไม่เรียกร้องหรือรับเงินประกัน บัตรประจำตัว หรือเอกสารประจำตัวใดๆ จากแรงงานไม่ว่าก่อนการสรรหา หรือหลังเข้ามาทำงานในประเทศไทยแล้ว หรือสร้างเป็นเงื่อนไข ในการรับเข้าทำงาน เว้นแต่กฎหมายยกเว้นไว้ รวมทั้งไม่ใช่การลงโทษทางกายหรือการคุกคามจากการถูกกระทำรุนแรง หรือรูปแบบอื่นๆ ของการข่มเหงทางกาย จิตใจหรือทางวาจา เป็นมาตรการด้านระเบียบวินัย หรือการควบคุม หรือเงื่อนไข ในการรับเข้าทำงาน หรือในกระบวนการสรรหาแรงงาน บริษัทจะไม่ดำเนินธุรกิจกับนายจ้าง หรือเอเจนซี่ประเทศต้นทาง ที่มีการใช้แรงงานบังคับหรือ มีความประสงค์จะใช้แรงงานบังคับหรือหากบริษัท ทราบถึงการใช้แรงงานบังคับดังกล่าว บริษัทจะยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ กับนายจ้าง หรือเอเจนซี่ประเทศต้นทางที่มีแนวทางการใช้แรงงานบังคับ ในกระบวนการสรรหาแรงงาน รวมถึงบริษัท จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง ในการให้ข้อเท็จจริง และแก้ไขเยียวยา ต่อแรงงานที่ได้รับผลกระทบ ด้านการใช้แรงงานบังคับดังกล่าว

2.แนวปฏิบัติด้านการใช้แรงงานเด็ก
บริษัทจะไม่ว่าจ้างหรือสนับสนุนให้มีการว่าจ้างเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีและจะไม่ให้ หรือสนับสนุน ในกระบวนการสรรหาแรงงานให้มีแรงงานเด็ก ทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขอนามัยหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัย บริษัทจะใช้มาตรการ ยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หากพบว่านายจ้าง หรือเอเจนซี่ประเทศต้นทางมีการรับหรือใช้แรงงานเด็ก ในกระบวนการสรรหาแรงงาน และบริษัท จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการให้ข้อเท็จจริงและเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

3.แดกปฏิบัติ ด้านการใช้แรงงานหญิง
บริษัทจะเข้าควบคุมตรวจสอบกระบวนการสรรหาแรงงาน จะไม่ให้ลูกจ้างหญิงทำงานที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพหรือร่างกาย ตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึง ลูกจ้างหญิงที่มีครรภ์ทำงานหรืออยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพอนามัยและความปลอดภัยต่อการมีกัน บริษัทจะไม่เลิกจ้าง ลดตำแหน่ง หรือลดสิทธิประโยชน์ของลูกจ้างหญิง หรือแรงงานหญิงในกระบวนการสรรหาแรงงาน เพราะเหตุจากการมีครรภ์บริษัทจะใช้มาตรการ ยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หากพบว่านายจ้าง หรือเอเจนซี่ประเทศต้นทางมีการละเมิดต่อแรงงานหญิง ในกระบวนการสรรหาแรงงาน และบริษัท จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐ ในการให้ข้อเท็จจริงและเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

4 แนวปฏิบัติการใช้แรงงานต่างด้าวอย่างถูกต้องตามกฎหมาย
บริษัท จะดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบ ทั้งการใช้แรงงานต่างด้าว ในบริษัทและในกระบวนการสรรหาแรงงานต่างด้าว ให้แก่คู่ค้าทางธุรกิจ โดยจะกำกับดูแล ปฏิบัติ ให้ถูกต้องตามกฎหมาย ทั้งในเรื่องสัญญาจ้าง ใบอนุญาตทำงาน ค่าจ้าง สภาพการจ้างงานที่ปลอดภัย ทั้งนี้เพื่อยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขัน ของคู่ค้าธุรกิจ ให้เติบโตไปด้วยกันอย่างยั่งยืนไปด้วยกัน บริษัทจะใช้มาตรการ ยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจ หากพบว่านายจ้าง หรือเอเจนซี่ประเทศต้นทางมีการใช้หรือยินยอมให้แรงงานต่างด้าวผิดกฎหมาย อยู่ในกระบวนการสรรหาแรงงาน และบริษัท จะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการให้ข้อเท็จจริงและเยียวยา ผู้ที่ได้รับผลกระทบ

5.แนวปฏิบัติด้านการแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ
บริษัทมีนโยบาย ความอดทนเป็นศูนย์ ในการแบ่งแยกหรือเลือกปฏิบัติ บริษัทจะไม่กระทำการหรือสนับสนุนให้มีการเลือกปฏิบัติ ในกระบวนการสรรหาแรงงาน การจ่ายค่าจ้างและค่าตอบแทนการทำงานการให้สวัสดิการโอกาสได้รับการสนับสนุน ได้รับการฝึกอบรมและพัฒนา การพิจารณาเลื่อนขั้นหรือตำแหน่งหน้าที่ การเลิกจ้าง การเกษียณอายุการทำงาน และจะไม่เข้าไปแทรกแซงขัดขวางหรือกระทำการใดๆอันเป็นผลกระทบต่อกิจกรรมการใช้สิทธิหรือวิธีปฏิบัติของแรงงาน อันเนื่องมาจากเหตุเพราะความแตกต่างในเรื่องสัญชาติศาสนาภาษาอายุเพศสถานภาพการสมรสทัศนคติส่วนตัวในเรื่องเพศความพิการการเป็นสมาชิกสหภาพแรงงาน การเป็นกรรมการลูกจ้างความนิยมในพรรคการเมืองหรือแนวคิดส่วนบุคคลอื่นๆ บริษัทจะใช้มาตรการยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจหากพบว่านายจ้างหรือเอเจนซี่ประเทศต้นทาง มีแนวปฏิบัติด้านการแบ่งแยกแบบเลือกปฏิบัติต่อแรงงานในกระบวนการสรรหาแรงงาน และบริษัทจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐในการให้ข้อเท็จจริงและเยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบ ดังกล่าว

6.แนวปฏิบัติด้านเสรีภาพในการสมาคมและการรวมกลุ่มเพื่อเจรจาต่อรอง
บริษัทจะเคารพสิทธิลูกจ้างและการให้เสรีภาพในการเข้าร่วมหรือไม่เข้าร่วมสมาคมสหภาพสหพันธ์ต่างๆ รวมถึง บริษัท จะแจ้งให้แก่นายจ้าง และบริษัทจัดหางานประเทศต้นทางทราบ ก่อนเริ่มกระบวนการสรรหาแรงงาน ว่าแรงงานที่ ผ่านกระบวนการสรรหามาทำงานกับนายจ้างในประเทศไทยนั้นจะต้อง มีสิทธิเสรีภาพในการเข้าร่วมสมาคมสหภาพสหพันธ์ต่างๆ แต่ไม่เกินกว่าที่กฎหมายกำหนด รวมทั้งมีการอำนวยความสะดวก และปฏิบัติ ต่อตัว แรงงานนั้น เท่าเทียมกับลูกจ้างอื่นๆ

7.แนวปฏิบัติด้านสภาพแวดล้อมในการทำงานและคุณภาพชีวิต แรงงาน
บริษัทมีความมุ่งมั่นที่จะดำเนินการให้พนักงานของบริษัทปฏิบัติงานอย่างมีมาตรฐานส่งเสริม กระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้านอย่างมีจริยธรรม มีการจ้างงานที่เหมาะสม รวมถึงดูแลสภาพแวดล้อม ในการทำงานที่ปลอดภัยเพื่อให้พนักงานมีคุณภาพชีวิตที่ดี 3 ารถปฏิบัติงานได้โดยไม่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพกายสุขภาพจิตตลอดจนใส่ใจในมาตรฐานอาชีวอนามัยและความปลอดภัยในระดับสูงโดยจะทุ่มเทในการป้องกันอุบัติเหตุ การบาดเจ็บและอาการบาดเจ็บป่วยที่เกิดจากการทำงานในระหว่างการปฏิบัติงานภายใต้การคุ้มครองและปฏิบัติอย่างเป็นธรรมบนพื้นฐานทางสังคม ตามบทบัญญัติของกฎหมายแรงงานว่าด้วยการคุ้มครองแรงงานสวัสดิการแรงงานแรงงานสัมพันธ์ความปลอดภัยอาชีวอนามัยและสภาพแวดล้อมในการทำงานและระเบียบปฏิบัติที่เกี่ยวข้องโดยจะมีการทบทวนพัฒนาและปรับปรุงให้เหมาะสมอยู่เสมอ

8.แบบปฏิบัติด้านความรับผิดชอบดูแลแรงงานเกี่ยวกับการถูกคุกคามหรือถูกเรื่องล่วงละเมิดทางเพศ
บริษัท 5 มการล่วงละเมิดในทุกรูปแบบรวมถึงการคุกคามการล่วงละเมิดทางเพศ บริษัท ส่งเสริมสภาพการทำงานที่ให้เกียรติกันและมีมาตรการป้องกันมิให้แรงงานถูกคุกคาม และล่วงละเมิดทางเพศไม่ว่าจะเป็นการแสดงออกด้วยคำพูดท่าทางการสัมผัสทางกายหรือด้วยวิธีการอื่นใดรวมถึงการใช้ความรุนแรงต่อสตรี หากแรงงานถูกคุกคามหรือถูกล่วงละเมิดทางเพศบริษัท จะดำเนินการพิจารณาโทษ ทางวินัยกับผู้กระทำความผิด ตามข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัทอย่างเคร่งครัดต่อพนักงานภายในบริษัท และ จะใช้มาตรการยุติความสัมพันธ์ทางธุรกิจหากพบว่านายจ้างหรือเอ็นเจนซี่ประเทศต้นทาง แสดงออกถึงการคุกคามล่วงละเมิดทางเพศ กับแรงงาน บริษัทจะให้ความร่วมมือกับหน่วยงานภาครัฐหาข้อเท็จจริง และเยียวยาต่อผู้ที่ได้รับผลกระทบ

9.แนวปฏิบัติด้านการค้ามนุษย์
บริษัทเดินหน้า ดำเนินธุรกิจอย่างมีจริยธรรมและมีความรับผิดชอบรอบด้านโดยเฉพาะ การไม่ร่วมกิจกรรมทุกอย่างที่เกี่ยวข้องกับการค้ามนุษย์ แรงงาน ที่ผ่านกระบวนการสรรหาแรงงานโดยบริษัท จะต้อง สมัครงานด้วยความสมัครใจ ไม่มีการคุกคาม ลักพาตัวบังคับ ขู่เข็ญแต่อย่างใด บริษัท จะสนับสนุน ผลักดัน ควบคุมดูแล ให้แรงงานทุกคน ได้รับสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ดีจากนายจ้าง ตั้งแต่วันแรก จนสิ้น สุดสัญญาจ้าง เพื่อความมั่นใจว่าแรงงานทุกคน จะได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ตามนโยบายกระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้านอย่างมีจริยธรรม

10.แดงปฏิบัติด้านค่าตอบแทนการทำงาน
บริษัทกำกับควบคุมดูแล ให้นายจ้างจ่ายค่าตอบแทนการทำงาน หรือค่าล่วงเวลาให้กับแรงงานไม่น้อยกว่าที่กฎหมายกำหนดไว้ และจะอบรม สื่อสารให้แรงงานได้รับรู้ข้อมูล เกี่ยวกับค่าจ้าง และค่าตอบแทนการทำงานที่ได้รับเป็นลายลักษณ์อักษร เป็นภาษาที่แรงงานสามารถเข้าใจในรายละเอียดต่างๆได้ รวมถึงค่าชดเชยและสิทธิประโยชน์ที่แรงงานพึงจะได้รับตามกฎหมายด้วย

11.แนวปฏิบัติด้านชั่วโมงการทำงาน
บริษัทจะเข้ากำกับดูแล ควบคุม ไม่ให้แรงงานทำงานนานเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้รวมถึงการทำงานล่วงเวลาและการทำงานในวันหยุด โดยมีการระบุเวลาการทำงานปกติ กำหนดเวลาเริ่มต้นและเวลาสิ้นสุดของการทำงานของแรงงานไว้อย่างชัดเจน โดยระยะเวลาไม่เกินเวลาของแต่ละประเภทงานที่กฎหมายกำหนด การกำหนดให้มีเวลาพักระหว่างปฏิบัติงานและเวลาพักในการรับประทานอาหารการให้สิทธิแรงงานในวันลาต่างๆ กับแรงงานตามที่กฎหมายกำหนด

12.แนวปฏิบัติด้านการเลิกจ้างและการจ่ายค่าชดเชย
หากแรงงานถูกเลิกจ้าง บริษัทจะเข้าไปควบคุมกำกับดูแลให้ความช่วยเหลือให้แรงงานได้รับเงินชดเชย ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พุทธศักราช 2541 ซึ่งกำหนดหน้าที่ของนายจ้างและสิทธิของลูกจ้างกรณีเลิกจ้างทั้งนี้โดยอาศัยหลักการตามอนุสัญญาองค์การแรงงานระหว่างประเทศได้กำหนดไว้ดังนี้คือ นายจ้างจะไม่ทำการเลิกจ้างพนักงานลูกจ้างโดยปราศจากเหตุผลอันสมควรที่เกี่ยวข้องกับความ สมารภหรือพฤติกรรมของลูกจ้าง ลูกจ้างจะได้รับการแจ้งให้ทราบก่อนการเลิกจ้าง หรือได้รับเงินชดเชยซึ่งถูกต้องตามกฎหมายแรงงานได้กำหนดไว้เว้นแต่ลูกจ้างจะกระทำความผิดอย่างร้ายแรง

13.แบบปฏิบัติสำหรับคู่ค้าทางธุรกิจ เอเจนซี่ประเทศต้นทาง ผู้รับเหมาช่วง ในห่วงโซ่อุปทาน

บริษัทสนับสนุนการปฏิบัติตามหลักสิทธิมนุษยชนกับคู่ค้าทางธุรกิจ อันได้แก่นายจ้าง แรงงาน บริษัทจัดหางานประเทศต้นทาง หรือผู้รับเหมาช่วง ซึ่งครอบคลุมถึงการใหม่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับการละเมิด และสร้างผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นเพื่อให้การประกอบธุรกิจ อยู่บนพื้นฐานของการเคารพสิทธิมนุษยชน จึงจะต้องปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติด้านสิทธิมนุษยชนของบริษัทอย่างเคร่งครัดโดยมีแนวปฏิบัติดังนี้

  • ดำเนินธุรกิจบนพื้นฐานความถูกต้องซื่อสัตย์สุจริตโปร่งใส มีจริยธรรม
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและมาตรฐานสากลด้านสิทธิแรงงานอย่างเคร่งครัดรวมถึงการคุ้มครองแรงงานการไม่บังคับใช้แรงงานและการกำหนดชั่วโมงการทำงานและค่าตอบแทนที่เป็นธรรม
  • เคารพในความเสมอภาคของบุคคลและหลีกเลี่ยงการเลือกปฏิบัติและการดำเนินการใดใดในการจ้างงานให้เกิดความเหลื่อมล้ำทั้งในเรื่องอายุเชื้อชาติสัญชาติศาสนาความทุกข์พลภาพเพศสภาพรสนิยมทางเพศ
  • การเป็นสมาชิกในสหภาพแรงงานความสนใจทางการเมือง
  • สนับสนุนสภาพการจ้างงานที่ดีให้แก่พนักงานรวมถึงดูแลสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัย
  • ปฏิบัติตามกฎหมายและระเบียบข้อบังคับด้านสิ่งแวดล้อมที่เกี่ยวข้องเพื่อให้การดำเนินธุรกิจของผู้ค้าและบริษัททุกราย 3 ารถควบคุมและป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเกิดจากการดำเนินธุรกิจ

ทั้งนี้บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบนายจ้าง บริษัทจัดหางานประเทศต้นทาง หรือผู้รับเหมาช่วงในห่วงโซ่อุปทานอย่างต่อเนื่อง เพื่อประเมินผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่อาจเกิดขึ้นโดยวิธีการประเมินผ่านแบบฟอร์มการประเมินความเสี่ยงคู่ค้า การลงพื้นที่สำรวจโดยไม่แจ้งล่วงหน้า และการแจ้งเบาะแส ในช่องทางการร้องเรียนของบริษัทเป็นต้น

14.มาตรการ แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน

      14.1 การดำเนินการเมื่อได้รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรีย
                กระบวนการด้านล่างนี้แสดงให้เห็นวิธีการ และมาตรการสอบสวนกรณีเกิดการละเมิดต่อแรงงาน เมื่อได้รับแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน พนักงานทุกคนต้องให้ความร่วมมืออย่างเต็มที่ในการดำเนินการสอบสวนข้อเท็จจริงกรณีพบกระทำ ความผิด จะต้องเข้าไปช่วยเหลือเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบดังกล่าวโดยทันที

        14.2 ช่องทางการแจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียน
               บริษัทได้เปิดช่องทางให้พนักงานแรงงานในความดูแล และผู้มีส่วนได้เสียได้แจ้งเบาะแสหรือข้อร้องเรียนดังนี้

    • เว็บไซต์บริษัทฯ : centralunity.co.th
    • กล่องรับความคิดเห็น : Human Resources Department
    • จดหมายอีเล็กทรอนิกส์(ไปยังCEO) : md@centralunity.co.th
    • โทรศัพท์ (ไปยังหัวหน้างาน) : Myanmar Fore man/ Cambodia Fore man/ Lao Fore man

       
                บริษัทจะดำเนินการตรวจสอบคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสียอย่างต่อเนื่องเพื่อประเมินผลกระทบและบริหารความเสี่ยง ด้านกระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้านอย่างมีจริยธรรม โดยการสำรวจผ่านแบบฟอร์มการลงพื้นที่ตรวจสอบโดยไม่แจ้งล่วงหน้าเป็นต้น นโยบายดังกล่าวและแนวปฏิบัติเป็นพื้นฐานที่สำคัญที่พนักงานทุกระดับจะต้องรับทราบและมีความเข้าใจรวมถึงคู่ค้าผู้มีส่วนได้เสีย ในห่วงโซ่อุปทาน บริษัทจึงมีความมุ่งมั่นที่จะสื่อสารนโยบายฉบับนี้และเจตนารมณ์ของนโยบายไปยังพนักงานทุกคนคู่ค้าและผู้มีส่วนได้เสีย ของบริษัทผ่านกระบวนการ

    • การปฐมนิเทศ พนักงาน
    • การอบรมพนักงานทุกคนเกี่ยวกับนโยบาย การปฏิบัติ ในกระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้านอย่างมีจริยธรรม
    • การสื่อสารผ่านผู้บริหารขององค์กร
    • การสื่อสาร โดยช่องทางสารสนเทศ และเว็บไซด์ของบริษัท
    • การสื่อสาร ผ่านเอเจนซี่ประเทศต้นทาง นายจ้าง หรือผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่น ที่ดำเนินธุรกิจคู่ค้ากับบริษัท

กระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้าน(Responsibility  Recruitment Due Diligence) RRDD สำหรับ บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เซนทรัล ยูนิตี้ กรุ๊ป เซอร์วิส จำกัด

หลักการและเหตุผล
หลักการสำคัญที่ภาคธุรกิจจะแสดงออก ถึงความรับผิดชอบ ที่มีต่อการเคารพสิทธิมนุษยชน นอกจากการจัดทำ ความผูกพันเชิงนโยบาย(Policy Commitment) แล้ว บริษัทยังจะต้องจัดให้มีการตรวจสอบสถานะด้าน การสรรหาแรงงาน ด้วยความรับผิดชอบ อย่างรอบด้าน(Responsibility  Recruitment Due Diligence) โดยตระหนักว่าการดำเนินการของภาคธุรกิจย่อมมีความเสียงที่ จะละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น และส่งผลกระทบตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบเชิงลบต่อแรงงาน สิทธิมนุษยชน และธรรมาภิบาลของบริษัท ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงควรมีมาตรการ ในการหลีกเลี่ยงป้องเพื่อลดความสูญเสียและเยียวยาในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสถานะรอบด้าน ในกระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้ภาคธุรกิจ ได้ทราบ ถึงสถานะของการดำเนินงาน ขององค์กรตนเอง และตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรภาคธุรกิจสามารถ ป้องกันบรรเทาและจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น ในการดำเนินงานของภาคธุรกิจได้

        1. การจัดทำ RRDD ควรครอบคลุมถึงผลกระทบทางลบ ต่อแรงงาน ทั้งที่ องค์กรธุรกิจเป็นผู้ก่อให้เกิดหรือมีส่วนร่วมทำให้เกิด จากกิจกรรมขององค์กรธุรกิจเอง หรือที่กระทำโดยพันธมิตรทางธุรกิจที่มีความเชื่อมโยงโดยตรงกับการดำเนินการผลิตภัณฑ์หรือบริการขององค์กรธุรกิจนั้น
        2. การจัดทำ RRDD ของแต่ละองค์กรธุรกิจไม่จำเป็นต้องมีลักษณะแบบเดียวกันย่อมมีความต่างกัน ตามความซับซ้อนของขนาดขององค์กรความเสี่ยงของระดับความรุนแรงของผลกระทบต่อสิทธิ มนุษยชนของแรงงานและสภาพกับบริบทการดำเนินธุรกิจของแต่ละองค์กร
        3. การจัดทำ RRDD ควรมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากความเสี่ยงต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชนแรงงานอาจเปลี่ยนไปตามสถานการณ์และบริบทในการดำเนินการขององค์การ

วัตถุประสงค์ของแนวทางฯ
แล้วทางการตรวจสอบ กระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบรอบด้านการจัดทำ RRDD ฉบับนี้มีขึ้นเพื่อช่วยให้องค์กรธุรกิจ เข้าใจและดำเนินการจัดทำ เพื่อให้เกิดการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบ เคารพสิทธิมนุษยชน โดยแนวทางประกอบด้วย กรอบในการระบุประเด็นและกรอบในการประเมินความเสี่ยงผลกระทบเชิงลบในลักษณะที่ยืดหยุ่นเพื่อให้แต่ละองค์กรธุรกิจ สารถนำไปปรับใช้ตามบริบทคณะประเภทอุตสาหกรรม และสภาวการณ์เฉพาะตัวขององค์กร
การนำนโยบายและขั้นตอนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบ มาใช้เป็นขั้นตอนที่จำเป็น แต่ขั้นตอนเหล่านั้นอย่างเดียวยังไม่เพียงพอ ยังต้องมีหลักฐานของการดำเนินการสรรหาแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบ ทำได้ผ่านการรวบรวมและเก็บรักษาเอกสาร ทั้งนี้ สารถใช้เอกสารในการพิสูจน์ว่าองค์กรธุรกิจ มีการสรรหาแรงงานอย่างมีความรับผิดชอบตามความคาดหวังของผู้ตรวจสอบ (auditors) ตามข้อกำหนดในกฎระเบียบหรือความต้องการของลูกค้ากว่าการดำเนินการของภาคธุรกิจย่อมมีความเสียงที่ จะละเมิดสิทธิมนุษยชนเกิดขึ้น และส่งผลกระทบตามมา ไม่ว่าจะเป็นผลกระทบเชิงลบต่อแรงงาน สิทธิมนุษยชน และธรรมาภิบาลของบริษัท ดังนั้น ภาคธุรกิจจึงควรมีมาตรการ ในการหลีกเลี่ยงป้องเพื่อลดความสูญเสียและเยียวยาในกรณีที่มีความเสียหายเกิดขึ้น
วัตถุประสงค์ของการตรวจสอบสถานะรอบด้าน ในกระบวนการสรรหาแรงงานด้วยความรับผิดชอบ เพื่อให้ภาคธุรกิจ ได้ทราบ ถึงสถานะของการดำเนินงาน ขององค์กรตนเอง และตลอดห่วงโซ่อุปทาน ทั้งนี้เพื่อให้องค์กรภาคธุรกิจสามารถ ป้องกันบรรเทาและจัดการกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นหรืออาจจะเกิดขึ้น ในการดำเนินงานของภาคธุรกิจได้

 

นายนรนิติ นันทะเลขา
ประธานกรรมการบริษัท
บริษัทนำคนต่างด้าวมาทำงานในประเทศ เซนทรัล ยูนิตี้ กรุ๊ปเซอร์วิส จำกัด